วิธีเลือกระบบ ERP: เลือกอย่างไรให้เหมาะกับธุรกิจคุณ

วิธีเลือกระบบ ERP ให้เหมาะกับธุรกิจคุณ

เชื่อว่าในยุคนี้ ทุกองค์กรต่างก็รู้ดีว่า ‘ระบบ ERP’ คือระบบที่จะเข้ามาช่วยจบทุกปัญหา และช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกัน การจะเลือกระบบ ERP ให้ตอบโจทย์ ก็ดูจะเป็นเรื่องยากเสียเหลือเกิน เพราะไม่รู้ว่าจะเลือกแบบไหนให้ตรงกับงบที่มี เพราะถ้าจ่ายแพงไปก็กลัวจะใช้ได้ไม่คุ้ม หรือถ้าจ่ายน้อยก็กลัวจะได้ระบบที่ไม่ครอบคลุม สรุปก็ต้อง ‘เอาไว้ก่อน’ จนทำให้องค์กรพัฒนาไม่ทันคู่แข่ง

บทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีเลือกระบบ ERP ให้เหมาะกับความต้องการขององค์กร เพื่อให้คุณสามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด

2 ประเภทของระบบ ERP ที่องค์กรยุคใหม่ต้องรู้จัก

เมื่อพูดถึงระบบ ERP หลาย ๆ ท่านน่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว หรือหากใครที่อยากรู้จักกับระบบนี้ให้มากขึ้น สามารถอ่านเพิ่มได้ที่นี่เลย

แต่ก่อนที่เราจะไปดูวิธีเลือกระบบ ERP ให้เหมาะกับองค์กร เราขอแนะนำให้รู้จักกับระบบ ERP 2 ประเภทใหญ่ ๆ ในตลาด นั่นก็คือ Open-Source ERP และ Proprietary ERP มาดูกันว่าทั้ง 2 ระบบนี้มีจุดเด่นที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

Open-Source ERP

Open-Source Software (OSS) คือ ซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาเปิดเผย Source Code หรือ โค้ดต้นฉบับ ให้กับบุคคลภายนอกสามารถนำไปศึกษา ใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง แจกจ่าย และพัฒนาต่อยอดได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่ง เมื่อเราซื้อซอฟต์แวร์นั้น ๆ แล้ว เราก็จะสามารถนำซอฟต์แวร์นั้นไปใช้งานได้อย่างอิสระ โดยไม่มีวันหมดอายุ

ข้อดีของระบบ ERP แบบ Open-Source

  • มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับแต่งให้ตอบโจทย์กับรูปแบบการทำงานของแต่ละองค์กรได้
  • ง่ายต่อการดูแลรักษา เพราะไม่ต้องพึ่งพาผู้พัฒนาที่เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์เพียงรายเดียว
  • ฝ่าย IT สามารถนำไปศึกษา ดัดแปลง และแก้ไขการทำงานของซอฟต์แวร์ได้ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และไม่ผิดลิขสิทธิ์

Proprietary ERP

Proprietary Software หรือ Closed-Source Software (CSS) คือ ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ ที่ผู้พัฒนาไม่ได้เปิดเผย Source Code และไม่อนุญาตให้ผู้อื่นนำไปศึกษา ทำซ้ำ หรือดัดแปลงการทำงานของซอฟต์แวร์นั้น ๆ ได้ มีเพียงผู้พัฒนาเท่านั้นที่จะสามารถแก้ไขได้ ซึ่งหากต้องการใช้งานซอฟต์แวร์แบบ Proprietary หรือ CSS เราจะต้องทำการซื้ออย่างถูกต้อง จึงจะได้รับอนุญาตให้สามารถใช้งานได้

ข้อดีของระบบ ERP แบบ Proprietary

  • ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จะทำการปรับปรุงและอัปเดตเวอร์ชันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์กรที่ซื้อไป ได้ใช้งานซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้ดีอยู่เสมอ
  • ซอฟต์แวร์แบบ CSS จะมาพร้อมบริการหลังการขายที่ครอบคลุม และยังมีการเทรนนิงให้กับฝ่าย IT เพื่ออัปเดตความรู้ใหม่ ๆ ในการใช้งาน
  • เป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานในระยะยาว ให้องค์กรสามารถเลือกอัปเกรดเป็นเวอร์ชันได้ตามต้องการ

รับวางระบบ ERP ครบวงจร โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

วิธีเลือกระบบ ERP ที่องค์กรยุคใหม่ต้องรู้

งบประมาณ

งบประมาณ คือปัจจัยแรกที่ต้องนำมาพิจารณาในการเลือกว่าควรใช้ระบบ ERP แบบไหนดี ซึ่งโดยปกติแล้ว ระบบ ERP แบบ Open-Source จะมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า และบางครั้งอาจดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรี จึงเหมาะกับธุรกิจ SME, Start-up หรือองค์กรที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ด้วยความที่ซอฟต์แวร์แบบ Open-Source นั้นเป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ปรับแต่งและแก้ไขได้อย่างอิสระ จึงมาพร้อมกับความเสี่ยงที่องค์กรอาจต้องเตรียมตัวรับมือ เช่น เรื่องของการเก็บข้อมูล และประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งหากมีฝ่าย IT ที่คอยดูแลอยู่เป็นประจำ เรื่องนี้ก็อาจไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่นัก แต่หากมองในระยะยาว การลงทุนกับระบบ ERP แบบ Proprietary ก็เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่า เพราะมาพร้อมกับการอัปเดตเวอร์ชันจากผู้พัฒนา ที่จะช่วยให้ซอฟต์แวร์ทำงานได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยอยู่เสมอ

ขนาดขององค์กร

อีกหนึ่งวิธีเลือกระบบ ERP ให้เหมาะกับธุรกิจ ก็คือการพิจารณาจากขนาดขององค์กร เพราะ Open-Source ERP ส่วนใหญ่ เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาให้เหมาะกับองค์กรขนาดเล็กโดยเฉพาะ ส่วน Proprietary ERP ก็เป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาให้รองรับการใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งซอฟต์แวร์ทั้ง 2 ประเภทนี้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของฟีเจอร์และระบบการทำงาน หากเราเลือกให้เหมาะกับขนาดขององค์กร ก็จะช่วยให้เราใช้งานระบบ ERP ได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น

ความยืดหยุ่น

ต้องบอกว่าเป็นกฎข้อสำคัญในการเลือกระบบ ERP เลยทีเดียว เพราะเมื่อองค์กรเติบโตขึ้น มีจำนวนพนักงานมากขึ้น ก็ต้องมองหาระบบ ERP ที่มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการขององค์กรได้ ซึ่งในจุดนี้ Open-Source ERP นั้นค่อนข้างที่จะตอบโจทย์ เพราะองค์กรสามารถนำไปดัดแปลงแก้ไขได้อย่างอิสระ ต่างจาก Proprietary ERP ที่จะไม่ยืดหยุ่นเท่าไหร่นัก หากต้องการเพิ่มฟีเจอร์ในส่วนใด อาจต้องใช้เวลานานหลายเดือน เพราะเป็นเรื่องที่องค์กรไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง

บริการหลังการขาย

ปิดท้ายด้วยอีกหนึ่งวิธีเลือกระบบ ERP ที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย นั่นก็คือเรื่องของบริการหลังการขาย ซึ่ง Proprietary ERP นั้นมาพร้อมกับจุดแข็งในส่วนนี้ เพราะเมื่อเราตกลงซื้อซอฟต์แวร์แล้ว สิ่งที่จะได้รับก็คือทีมงานที่เชี่ยวชาญ ที่จะคอยให้คำแนะนำด้านการใช้งาน และเข้าแก้ไขอย่างรวดเร็วหากเกิดปัญหา ในขณะที่ Open-Source จะไม่มีบริการในส่วนนี้ ทำให้องค์กรต้องพึ่งพาฝ่าย IT ในการดูแลรักษาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งหากองค์กรใดที่มีพนักงาน IT ไม่เพียงพอ ก็อาจกลายเป็นเรื่องวุ่นวายได้

 

จากวิธีเลือกระบบ ERP ที่เราได้นำมาฝากกันนี้ อาจช่วยให้หลายองค์กรได้มองเห็นภาพที่ชัดเจน และสามารถเลือกระบบ ERP ได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น แต่หากใครที่ยังนึกไม่ออก และไม่รู้ว่าควรจะเลือกอย่างไร สามารถปรึกษา Konica Minolta ได้เลย เราคือผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการรับวางระบบ ERP แบบครบวงจร สามารถออกแบบและปรับการวางระบบให้เหมาะสม ตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจ พร้อมบริการหลังการขายที่ครอบคลุม เพื่อให้คุณใช้งานระบบ ERP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ปรึกษาเราได้เลย โทร. 02-029-7000

แหล่งที่มา:

  1. 4 Factors to Consider when Choosing an ERP