บริการ Google Workspace vs บริการ Microsoft 365 แบบไหนที่ใช่กว่า

 

Google Workspace vs โปรแกรม Microsoft365

 

เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่ารูปแบบการทำงานในปัจจุบันนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อหลายปีก่อนอย่างสิ้นเชิง ด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและด้วยสถานการณ์โรคระบาดที่เข้ามาเร่งรัดให้แต่ละองค์กรต้องเริ่มมองหาโซลูชันใหม่ ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือแทบทุกองค์กรได้เริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการทำงานบน Cloud เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งการทำงานร่วมกัน การจัดเก็บข้อมูล และการประชุมทางออนไลน์ แน่นอนว่าหากจะพูดถึงโซลูชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเห็นจะไม่พ้น Google Workspace และ Microsoft 365  บริการจาก 2 บริษัทยักษ์ใหญ่นั่นเอง 

หากองค์กรใดที่ยังคงมีคำถามคาใจว่าทั้งสองบริการนี้แตกต่างกันอย่างไร เคยใช้ Google Workspace อยู่ จะเปลี่ยนมาใช้ Microsoft 365 ดีไหม หรือหากไม่เคยใช้บริการทั้ง 2 แบบนี้มาก่อนเลย ควรจะเลือกแบบไหนดีกว่ากัน ขอชวนมาหาคำตอบกันได้ที่นี่เลย!

 

เคยใช้บริการ Google Workspace (G-Suite) จะเปลี่ยนไปใช้บริการ Microsoft 365 ดีไหม?

หากพูดถึง G-Suite เชื่อว่าหลายองค์กรน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นบริการที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันได้ทำการเปลี่ยนชื่อจาก G-suite เป็น Google Workspace เรียบร้อยแล้ว จากเดิมนั้นจะเป็นการใช้งานเวอร์ชันฟรีที่มีชื่อว่า G-suite Legacy ที่สามารถใช้งานทั้งอีเมล, ปฏิทิน, ไดรฟ์ รวมถึงโปรแกรมทำงานออฟฟิศพื้นฐานอย่าง Docs, Sheets, Slides, Forms และโปรแกรมประชุมออนไลน์อย่าง Meet ได้แบบไม่ต้องเสียเงิน แต่ในเดือนมิถุนายน 2022 ที่ผ่านมา ทาง Google ก็ได้แจ้งสิ้นสุดการให้บริการเวอร์ชันฟรีไปเป็นที่เรียบร้อยแล้

จากเหตุการณ์นี้อาจทำให้หลายองค์กรเริ่มลังเลว่าจะไปต่อหรือพอแค่นี้กับ Google Workspace วันนี้เราจะพามาเปรียบเทียบสิ่งที่ได้จากการใช้บริการ Google Workspace และ
บริการ Microsoft 365 กันแบบชัด ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ 

 

 

เทียบชัดหมัดต่อหมัด Google Workspace vs บริการ Microsoft 365*

Google Workspace vs Microsoft 365

*ข้อมูลจาก Google และ Microsoft ( อัปเดตเดือนกันยายน 2022 )

 

 

ถ้าข้อมูลจากตาราง Compare ข้างต้นยังไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ เราลองมาลงลึกถึงแต่ละฟีเจอร์และตัวแพ็คเกจกัน

 

1. พื้นที่จัดเก็บข้อมูล

  • Google Workspace: มาพร้อมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเริ่มต้นที่ 30GB สำหรับแพ็กเกจพื้นฐาน ซึ่งเป็นการแชร์ร่วมกันระหว่าง Gmail, Drive และ Google Photos สามารถซื้อเพิ่มได้สูงสุดถึง 5TB 
  • Microsoft 365:  มาพร้อมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบน OneDrive เริ่มต้นที่ 1TB ในทุกแพ็กเกจ โดยมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลอีเมลอีก 50GB ซึ่งพื้นที่บน OneDrive นี้สามารถซื้อเพิ่มได้สูงสุดถึง 2TB

 

2. การใช้งาน

  • Google Workspace: รองรับการใช้งานผ่าน Browser และ Smart Devices
  • Microsoft 365:  รองรับการใช้งานผ่าน Browser, Smart Devices และสามารถติดตั้ง Application ใช้งานบน Desktop ได้เลย (ยกเว้นแพ็กเกจ Office 365 Business Basic)

 

3. ความหลากหลายของแพ็กเกจ

  • Google Workspace: มีให้เลือกทั้งหมด 4 แพ็กเกจ ประกอบด้วย 
    • แพ็กเกจสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง มีทั้งหมด 3 แพ็กเกจ โดยมีราคาตั้งแต่
      • Business Starter ราคา 130 บาท/ 1 ผู้ใช้/เดือน
      • Business Standard ราคา 296 บาท/ 1 ผู้ใช้/เดือน
      • Business Plus ราคา 555 บาท/ 1 ผู้ใช้/เดือน
    • แพ็กเกจ Enterprise สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 300 คนขึ้นไป ซึ่งราคาของแพ็กเกจนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้ 
  • Microsoft 365:  มีให้เลือกทั้งหมด 7 แพ็กเกจ ประกอบด้วย
    • แพ็กเกจสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง
      • M365 Business Basic ราคา 3 USD/ผู้ใช้/เดือน
      • M365 Apps for Business ราคา 8.25 USD/ผู้ใช้/เดือน
      • M365 Business Standard ราคา 10 USD/ผู้ใช้/เดือน
      • M365 Business Premium ราคา 22 USD/ผู้ใช้/เดือน
    • แพ็กเกจ Enterprise สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานมากว่า 300 คนขึ้นไป ซึ่งจะเพิ่มเติมเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมเพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์
      • M365 E3 ราคา 36 USD/ผู้ใช้/เดือน
      • M365 E5 ราคา 57 USD/ผู้ใช้/เดือน
      • M365 F3 ราคา 8 USD/ผู้ใช้/เดือน

 

 

Google Workspace vs โปรแกรม Microsoft 365 ต่างกันอย่างไร

 

4. การประชุมออนไลน์

  • Google Workspace: Google Meet สามารถเข้าร่วมประชุมพร้อมกันได้เพียง 100 คน หากต้องการใช้งานเพิ่มจะมีค่าบริการเพิ่มเติม สามารถเพิ่มจำนวนได้สูงสุด 250 คน
  • Microsoft 365: Microsoft Teams สามารถเข้าร่วมประชุมพร้อมกันได้สูงสุดถึง 300 คนทุกแพ็กเกจ

 

5. โปรแกรมการทำงาน

  • Google Workspace: มาพร้อมโปรแกรมพื้นฐาน Docs, Sheets, Slides, Keep, Sites และ Forms
  • Microsoft 365: มาพร้อมโปรแกรมพื้นฐาน Word, Excel, Powerpoint, Outlook และ OneNote รวมถึงโปรแกรมขั้นสูงสำหรับแพ็กเกจธุรกิจขนาดใหญ่

 

บริการ Google Workspace vs บริการ Microsoft 365 เลือกแบบไหนถึงใช่กับองค์กร

 

จากการเปรียบเทียบด้านบนนี้จะเห็นได้ว่าโดยรวมแล้วฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานของทั้ง Google Workspace และ Microsoft 365 จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่จะมีสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดดังต่อไปนี้ 

  • Microsoft 365 มีแพ็กเกจให้เลือกหลากหลายกว่า ตอบโจทย์การใช้งานตั้งแต่องค์กรขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่
  • Microsoft 365 มี Application ที่เหมาะกับการใช้งานในองค์กร ทั้งโปรแกรมขั้นสูงเพื่อการทำงานและโปรแกรมประชุมออนไลน์ที่สามารถรองรับผู้ใช้งานได้มากกว่า
  • Microsoft 365 มี Office Application ที่รองรับการทำงานบน Desktop ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงานและยังเป็นที่คุ้นเคยของผู้ใช้งานมากกว่าอีกด้วย 

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้บริการ Google Workspace หรือ บริการ Microsoft 365 ก็ขึ้นอยู่กับความชอบและความสะดวกในการใช้งานของแต่ละองค์กร แต่หากใครที่สนใจอยากลองย้ายจาก Google Workspace มาใช้ บริการ Microsoft 365 ทางโคนิก้า มินอลต้า พร้อมเป็นที่ปรึกษาในการเลือกแพ็กเกจที่เหมาะสม พร้อมบริการย้ายข้อมูลจาก Google Workspace มายัง Microsoft 365 เพื่อให้คุณสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง การันตีความน่าเชื่อถือด้วยเครื่องหมาย Microsoft Gold Partner อย่างเป็นทางการ พร้อมดูแลให้คุณครบจบทุกความต้องการ ติดต่อเราได้เลย