ตอบครบ! Virtual Server คืออะไร เหมาะกับองค์กรแบบไหน?

Virtualization Technology คืออะไร

เพราะ Server คือหัวใจหลักในองค์กร ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ ประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ให้ปลอดภัย การใช้งานระบบ Server ที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าไปได้อย่างแข็งแกร่ง

บทความนี้ชวนมารู้จักกับ Virtualization Technology หรือเทคโนโลยี ‘Server เสมือน’ ทางเลือกที่จะเข้ามาช่วยลดภาระงาน ลดค่าใช้จ่าย และช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรได้มากกว่าที่เคย มาดูกันว่า Virtualization Technology คืออะไร มีข้อดีอย่างไร และองค์กรแบบไหนที่เหมาะกับการใช้งานเทคโนโลยีนี้ 

Virtualization Technology คืออะไร?

Virtualization Technology คือ การใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่า เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการทำ Virtual Server หรือ Server เสมือน ก็คือการที่เรานำเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการทรัพยากร Server โดยเป็นการจำลองว่ามี Server หลายเครื่องอยู่ในเครื่องเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์หรือระบบปฏิบัติการจำนวนมากไปพร้อม ๆ กันได้อย่างราบรื่น 

ข้อดีของ Virtualization Technology หรือ Virtual Server มีอะไรบ้าง?

  • ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในองค์กร

โดยปกติแล้ว การใช้งาน Physical Server แบบดั้งเดิม เราจะต้องมีเครื่อง Server จำนวนมากเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานภายในองค์กรได้อย่างเพียงพอ ยิ่งปริมาณงานเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งต้องใช้ เครื่องจำนวนมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของฮาร์ดแวร์แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้า ค่าพื้นที่จัดตั้งห้อง Server และค่าดูแลรักษาอีกด้วย ซึ่งจากที่เราได้อธิบายไปในข้างต้นว่า Virtual Server คือการจำลองว่ามี Server หลายตัวอยู่ในเครื่องเดียว เทคโนโลยีนี้ จึงเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยประหยัดต้นทุนในการทำงาน และลดภาระค่าใช้จ่ายในองค์กรได้มากขึ้น 

  • ช่วยลดภาระการทำงานของ Server

อีกหนึ่งข้อดีที่น่าสนใจของการใช้งาน Virtual Server ก็คือการที่สามารถลดภาระการทำงานของ Server ลงไปได้ไม่น้อย เพราะแต่เดิมเราอาจมีการใช้งานซอฟต์แวร์หรือ Application เดียวกันอยู่บน Server หลาย ๆ เครื่อง จึงทำให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อนภายในระบบ แต่เมื่อเราใช้งาน Server เสมือนเพียงเครื่องเดียว ก็จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถบริหารจัดการซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้จากที่เดียว

  • มีความยืดหยุ่นสูง ใช้งานง่าย สะดวกต่อการดูแลรักษา

ต่อเนื่องจากข้อดีในเรื่องของการที่ผู้ดูแลสามารถบริหารจัดการระบบได้จากส่วนกลางเพียงจุดเดียว ทำให้ Virtual Server เป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย และสะดวกต่อการดูแลรักษา อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูง เพราะสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนเครื่องที่อยู่ภายใต้ Server เสมือนได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้ผู้ดูแลสามารถทำ Diaster Recovery ได้ง่ายกว่าที่เคย

  • ลดภาระงานฝ่าย IT 

นอกจากข้อดีทั้งหมดที่กล่าวมา แน่นอนว่าอีกหนึ่งข้อดีที่เป็นจุดเด่นของ Virtual Server ก็คือการที่ช่วยลดภาระงานของฝ่าย IT ซึ่งทำหน้าที่ดูแลระบบ Server ลงไปได้มาก ทำให้ฝ่าย IT มีเวลาเหลือไปทำงานในส่วนอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว 

ข้อดีของ Virtual Server

องค์กรแบบไหนที่เหมาะกับการใช้งาน Virtual Server?

  • องค์กรที่แต่เดิมมีเครื่อง Server จำนวนมาก

สำหรับองค์กรใดที่ใช้งาน Physical Server และกำลังเผชิญกับปัญหาความยุ่งยาก จากการที่มีเครื่อง Server จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพื้นที่จัดเก็บ หรือการดูแลรักษา และต้องการจะลดจำนวน Server ให้น้อยลง เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน บอกเลยว่าเทคโนโลยี Virtual Server นั้นตอบโจทย์ในเรื่องนี้อย่างแน่นอน

  • องค์กรที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่าย

นอกจากปัญหาเรื่องจำนวนเครื่อง Server ที่มีมากจนไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง หากองค์กรใดที่กำลังมองหาวิธีที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ทั้งค่าฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, ค่าไฟ และค่าบำรุงรักษา ก็สามารถเปลี่ยนมาใช้งานเทคโนโลยี Server เสมือน เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น 

  • องค์กรที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 

หากองค์กรของคุณกำลังมองหาวิธีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เทคโนโลยี Virtual Server ก็คือตัวช่วยที่ดีเช่นเดียวกัน เพราะเทคโนโลยีนี้รองรับการใช้งานซอฟต์แวร์ที่หลากหลาย และยังช่วยให้องค์กรสามารถใช้งานระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันได้อย่างราบรื่น ช่วยให้งานดำเนินได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ 

 

Konica Minolta ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันจัดการระบบ Server พร้อมให้คำปรึกษาตั้งแต่เรื่องการวางระบบ การติดตั้งซอฟต์แวร์ และบริการหลังการขายที่ครอบคลุม โดยทีมงานที่มีประสบการณ์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบ Server ให้กับองค์กรคุณ

ปรึกษาเราได้เลย โทร. 02-029-7000 

แหล่งที่มา:

  1. Virtualization 101