เมื่อโลกของเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว ผู้คนต่างเริ่มมองหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกและความคล่องตัวให้กับการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานกับระบบเครือข่ายที่เต็มไปด้วยความซับซ้อน บทความนี้จะพามารู้จักกับ SDN ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับระบบเครือข่าย พร้อมช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้องค์กรได้ในระยะยาว มาดูกันว่า SDN หรือ Software-Defined Network คืออะไร และมีประโยชน์ที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง
SDN คืออะไร? เทคโนโลยีที่องค์กรยุคใหม่ไม่ควรมองข้าม!
Software-Defined Networking (SDN) คือ สถาปัตยกรรมระบบเครือข่าย หรือ รูปแบบในการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ที่แยกการจัดการระบบเครือข่ายออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่
- Data Plane: ทำหน้าที่ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย
- Control Plane: ทำหน้าที่ควบคุมการเชื่อมต่อและเส้นทางการรับ-ส่งข้อมูล
ในระบบเครือข่ายแบบดั้งเดิม การจัดการทั้ง 2 ส่วนนี้จะรวมอยู่ในอุปกรณ์แต่ละตัว ทำให้ยากต่อการจัดการ SDN จึงเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหา และเพิ่มความคล่องตัวในด้านการจัดการระบบเครือข่าย โดยเทคโนโลยี SDN จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการกับระบบเครือข่ายได้จากซอฟต์แวร์ศูนย์กลาง ที่เรียกว่า SDN Controller ซึ่งซอฟต์แวร์นี้จะช่วยให้การบริหารจัดการระบบเครือข่ายเป็นไปได้อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบรับการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจทุกรูปแบบ
SDN ต่างจากระบบเครือข่ายแบบเดิมอย่างไร?
อย่างที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นว่า ‘ข้อจำกัด’ ของระบบเครือข่ายแบบดั้งเดิม ก็คือการที่อุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัว จะมีส่วนการควบคุมที่ทำงานแยกกัน การจัดการกับระบบเครือข่ายจึงมีความซับซ้อนและต้องใช้เวลานาน ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเปลี่ยนเส้นทางการรับ-ส่งข้อมูล ฝ่าย IT ก็จะต้องเข้าไปกำหนดค่าของอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัว ซึ่งนอกจากจะเสียเวลาแล้ว ยังมีโอกาสสูงที่จะเกิดความผิดพลาด หรือหากต้องการขยับขยายระบบเครือข่าย ฝ่าย IT ก็เหมือนต้องมาเริ่มงานใหม่ตั้งแต่ต้น เพื่อให้การบริหารจัดการระบบสามารถทำงานร่วมกันได้
ซึ่ง SDN ก็คือเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาจบความยุ่งยากเหล่านี้โดยเฉพาะ โดยจะช่วยให้ฝ่าย IT สามารถควบคุมและจัดการกับระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการกำหนดค่า และไม่ต้องปวดหัวกับเทคโนโลยีที่ซับซ้อนของระบบเครือข่ายแบบดั้งเดิม
โครงสร้างการทำงานของ SDN
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
Application layer
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่กำหนดการใช้งานของระบบเครือข่าย เช่น กำหนดเส้นทางการรับ-ส่งข้อมูล หรือ กำหนดการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย
Control layer
เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ SDN Controller เปรียบเสมือนมันสมองของ Software-Defined Network ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบเครือข่าย
Infrastructure layer
เป็นส่วนการทำงานพื้นฐานที่ทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย ประกอบด้วยอุปกรณ์ระบบเครือข่ายต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกัน เช่น สวิตช์ และ เราเตอร์
ประโยชน์ของ SDN ที่มีต่อการจัดการ Data Center
หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ SDN กันไปแล้วว่าคืออะไรและมีหลักการทำงานอย่างไร เรามาดูกันว่า เทคโนโลยี Software-Defined Networking นี้ มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไรบ้าง
- ใช้งานง่าย ฝ่าย IT สามารถบริหารจัดการระบบเครือข่ายได้บนอุปกรณ์เดียว
- มีความยืดหยุ่นสูง รองรับทุกการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบนระบบเครือข่ายได้อย่างไม่ซับซ้อน
- ตอบโจทย์ด้านความปลอดภัย จากการที่สามารถควบคุมระบบเครือข่ายได้ในที่เดียว ช่วยให้การติดตามและตรวจสอบระบบเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยลดการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ทำให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
Konica Minolta ผู้เชี่ยวชาญด้านรับวางระบบ Network พร้อมให้คำปรึกษา ออกแบบ และวางระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดขององค์กร ที่ตอบโจทย์ทุกรูปแบบการดำเนินธุรกิจ สามารถสอบถามเรื่องการใช้งานเทคโนโลยี SDN ได้ฟรี! ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมดูแล
ปรึกษาเราได้เลย โทร. 02-029-7000
แหล่งที่มา: