ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิตอลได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราทุกคนอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยีก็ไม่ใช่แค่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต และช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดเท่านั้น เพราะในขณะเดียวกัน การที่องค์กรส่วนใหญ่เลือกใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน ก็อาจกลายเป็นช่องโหว่สำคัญที่ทำให้ต้องเผชิญกับ การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) ได้ บทความนี้ขอชวนองค์กรยุคดิจิตอลมารู้จักกับ Cyber Security มาดูกันว่าเรื่องนี้สำคัญอย่างไร ทำไมจึงเป็นสิ่งที่องค์กรยุคใหม่ไม่ควรมองข้าม
Cyber Security: เรื่องที่องค์กรต้องใส่ใจ เพราะอาจเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิด!
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราอาจเคยได้ยินข่าวเรื่องการโจมตีทางไซเบอร์กันอยู่บ่อยครั้ง ทั้งการโจมตีที่เกิดขึ้นกับองค์กรใหญ่ในต่างประเทศ จนทำให้องค์กรเหล่านั้นต้องสูญเงินหลักล้าน และการโจมตีที่เกิดขึ้นแบบใกล้ตัว กับหลาย ๆ องค์กรในบ้านเราเอง ซึ่งถึงแม้ข่าวเหล่านี้จะทำให้หลายองค์กรเริ่มตื่นตัว แต่องค์กรขนาดเล็กก็อาจมองว่ายังคงเป็นเรื่องไกลตัว เพราะคิดว่าผู้ก่อการร้ายอาจเลือกโจมตีแค่องค์กรขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว แต่รู้ไหมว่า แท้จริงแล้วองค์กรขนาดเล็กกลับกลายเป็นเป้าหมายหลักที่ผู้ก่อการร้ายมักเลือกโจมตี! เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว องค์กรขนาดเล็กมักมีระบบป้องกันความปลอดภัยที่เข้มงวดน้อยกว่า ทำให้ง่ายต่อการขโมยข้อมูลมากกว่า
พฤติกรรมในองค์กรที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์
- ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาง่าย
โดยปกติแล้วการใช้รหัสผ่าน ก็เปรียบเสมือนการล็อกกุญแจบ้านอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บุกรุกจากภายนอกเข้ามาโจมตีหรือเข้ามาขโมยข้อมูลสำคัญ ๆ ในองค์กรออกไป แต่เชื่อว่ามีพนักงานจำนวนไม่น้อยที่เลือกใช้รหัสผ่านสั้น ๆ ง่าย ๆ และใช้รหัสผ่านเดียวกันกับทุกอุปกรณ์ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน และป้องกันไม่ให้ตนเองลืมรหัสผ่านในภายหลัง ซึ่งพฤติกรรมนี้เปรียบได้กับการหยิบยื่นกุญแจให้กับผู้ก่อการร้ายสามารถเข้ามาล้วงความลับในองค์กรได้ง่าย ๆ ซึ่งกว่าจะรู้ตัวอีกที ข้อมูลสำคัญก็อาจรั่วไหล และสายเกินไปที่จะกู้คืนมาได้!
- ไม่อัปเดตซอฟต์แวร์
การอัปเดตซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของซอฟต์แวร์ พร้อมช่วยแก้ไขปัญหาที่อาจทำให้การใช้งานต้องสะดุด ทั้งยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน ทำให้ซอฟต์แวร์เรียนรู้ที่จะปิดกั้นการเข้าถึงของไวรัสและมัลแวร์ต่าง ๆ แน่นอนว่าหากองค์กรใดที่ละเลยการอัปเดต และยังคงใช้ซอฟต์แวร์เก่า ๆ ในการทำงาน ก็อาจเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้มากขึ้น
- ไม่มีโปรแกรมป้องกันไวรัส
โปรแกรมป้องกันไวรัส ถือเป็นโปรแกรมขั้นพื้นฐานที่องค์กรต้องใช้ แต่หากองค์กรใดที่มองข้ามความสำคัญของโปรแกรมเหล่านี้ ด้วยมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น และอาจกลายเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย สุดท้ายแล้วสิ่งที่ต้องเสียไป อาจไม่ใช่แค่ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโปรแกรม แต่ยังรวมถึงข้อมูลสำคัญของบริษัท และภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือที่ต้องเสียไปตลอดกาล
- ไม่ระมัดระวังขณะเข้าเว็บไซต์
ปัจจุบันนี้ผู้ก่อการร้ายได้คิดค้นสารพัดวิธีใหม่ ๆ เพื่อเข้ามาโจมตีและขโมยข้อมูลสำคัญในองค์กร ทั้งในรูปแบบของอีเมลและเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ถูกปลอมแปลงให้คล้ายคลึงกับเว็บไซต์ที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่กดคลิกเข้าไปโดยไม่ทันได้ระวัง หรือเผลอใส่รหัสผ่านลงไปในอีเมลหน้าตาแปลก ๆ ก็อาจกลายเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์ได้เลยทันที
Cyber Security 5 ประเภท ที่องค์กรควรให้ความสำคัญ
หลังจากที่เราได้เข้าใจถึงอันตรายของการโจมตีทางไซเบอร์ พร้อมรู้เท่าทันถึงพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นจุดเริ่มต้นของการถูกโจมตีกันไปแล้ว เรามาดูกันว่า Cyber Security ที่องค์กรควรให้ความสำคัญนั้นมีอะไรบ้าง
- Infrastructure Security ความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐาน
ระบบโครงสร้างพื้นฐานในองค์กร ถือเป็นส่วนที่เสี่ยงต่อการโจมตีสูงกว่าส่วนอื่น ๆ ซึ่งหลายครั้งมักเกิดจากการที่พนักงานในองค์กรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของ Cyber Security
- Network Security ความปลอดภัยของเครือข่าย
การยกระดับความปลอดภัยของเครือข่ายในองค์กร จะช่วยไม่ให้ผู้ก่อการร้ายจากภายนอกสามารถเข้าถึงองค์กรโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้น ๆ ที่องค์กรควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน
- Application Security ความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน
แอปพลิเคชันก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มักเกิดการโจมตีทางไซเบอร์อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นองค์กรจึงต้องใส่ใจตั้งแต่การเข้ารหัสผ่าน, ยืนยันตัวตน, บันทึกข้อมูลการใช้งาน ตลอดจนการเข้ารหัสระหว่างการใช้งานแอปพลิเคชัน เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตั้งแต่ต้นจนจบ
- Cloud Security ความปลอดภัยบนคลาวด์
ระบบคลาวด์เป็นระบบที่มีการใช้งานกันมากขึ้นในยุคปัจจุบัน โดยเป็นระบบที่ใช้เก็บรักษาข้อมูลเกือบทั้งหมดขององค์กร จึงเป็นอีกหนึ่งระบบที่มักเผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งในส่วนนี้ทางผู้ให้บริการเองก็ได้มีการพัฒนาระบบความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองการใช้งานขององค์กรเช่นเดียวกัน
- Internet of Things (IoT) Security ความปลอดภัยของอุปกรณ์
ในการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นตัวกลางในการรับ-ส่งข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้กระทั่งกล้องวงจรปิด องค์กรจึงไม่ควรมองข้ามการยกระดับความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อปิดกั้นทุกช่องโหว่ที่อาจก่อให้เกิดการโจมตี
ยกระดับความปลอดภัยให้องค์กร ด้วยบริการรับวางระบบ Cyber Security จาก Konica Minolta มาพร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่จะช่วยให้คำปรึกษา แนะนำ พร้อมนำเสนอโซลูชันที่เหมาะกับองค์กรของคุณ ติดต่อเราตอนนี้ที่ โทร. 02-029-7000
มีประโยชน์มากๆ ครับ