นอกจากจะทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันระบบเครือข่ายขององค์กรให้ปลอดภัยจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว ‘Firewall’ ยังทำหน้าที่เป็นผู้รักษาความปลอดภัย ที่ช่วยปกป้องไม่ให้ไวรัสหรือมัลแวร์ที่เป็นอันตรายสามารถเข้ามาทำลายหรือขโมยข้อมูลสำคัญขององค์กรได้
แต่การที่ระบบ Firewall จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็ต้องเริ่มจากการเลือกใช้ให้เหมาะกับรูปแบบการทำงานขององค์กร บทความนี้เราสรุปประเภทต่าง ๆ ของ Firewall ไว้ให้ครบ แค่อ่านจบก็ช่วยให้คุณเลือก Firewall ที่ใช่ได้ทันที มาดูกันว่า Firewall มีกี่ประเภท ประเภทไหนถึงตอบโจทย์กับการใช้งานในธุรกิจคุณมากที่สุด
จะรู้ได้อย่างไร ว่า Firewall ที่องค์กรคุณกำลังใช้ ปลอดภัยเพียงพอ?
ระบบ Firewall ถือว่าเป็นระบบที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรในยุคนี้ เพราะในปัจจุบัน กระบวนการทำงานเกือบทุกขั้นตอน จะต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตมาเป็นสื่อกลาง ทำให้ Hacker หรือผู้ไม่ประสงค์ดี มีโอกาสที่จะเข้าถึงข้อมูลสำคัญในองค์กรได้ง่าย ด้วยการเจาะเข้ามาในระบบเครือข่าย และบางครั้งองค์กรก็อาจต้องเจอกับไวรัสหรือมัลแวร์ที่ยากจะรับมือ ซึ่งการติดตั้งระบบ Firewall ที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นวิธีที่จะช่วยรักษาความปลอดภัย ให้องค์กรทำงานได้อย่างราบรื่น และช่วยลดความเสี่ยงที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายอันไม่อาจประเมินค่าได้
ซึ่งเรื่องที่ว่า Firewall มีหน้าที่อะไร เป็นเรื่องที่ฝ่าย IT ทุกคนเข้าใจกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ด้วยความที่ระบบ Firewall นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ระบบ Firewall ที่เรากำลังใช้ มีความปลอดภัยเพียงพอ? มารู้จักกับ Firewall 5 ประเภท ที่จะช่วยให้คุณเลือกระบบ Firewall ได้เหมาะกับการใช้งานในองค์กรมากที่สุด
Firewall มีกี่ประเภท? สรุป 5 ประเภทของ Firewall ที่ควรรู้จัก
- Packet Filtering Firewall
Packet Filtering Firewall คือ Firewall ที่จะทำการตรวจสอบ Packet (แพ็กเก็ต) ซึ่งเป็นกลุ่มข้อมูลขนาดย่อยที่ช่วยให้การรับ-ส่งข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดย Packet Filtering Firewall จะทำการตรวจสอบว่า Packet หรือกลุ่มข้อมูลเหล่านั้น เป็นกลุ่มข้อมูลที่ตรงตามเงื่อนไขที่ผู้ดูแลระบบกำหนดไว้หรือไม่ หากเป็นกลุ่มข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ หรือตรงตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ ก็จะได้รับอนุญาตให้ผ่านเข้า-ออกระบบเครือข่าย แต่หากเป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีความปลอดภัย หรือไม่ตรงตามเงื่อนไข ข้อมูลเหล่านั้นก็จะถูกปฏิเสธ
- Circuit-Level Gateway
Circuit-Level Gateway คือ ระบบ Firewall ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย ด้วยการสร้างเส้นทางการเชื่อมต่อเสมือนขึ้นมา เพื่อพิจารณาว่าเครือข่ายที่เชื่อมต่อเข้ามานั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
- Stateful Inspection Firewall
Stateful Inspection Firewall คือ Firewall ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบว่า Packet ที่ถูกส่งมา เป็น Packet ที่เคยเข้ามาในระบบเครือข่ายแล้วหรือยัง โดยจะนำข้อมูลของ Packet เดิมและ Packet ปัจจุบันมาตรวจสอบเปรียบเทียบกัน ช่วยให้การคัดกรองข้อมูลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น
- Application-Level Gateway
Application-Level Gateway คือ ระบบ Firewall ที่ทำงานเชื่อมต่อกับ Router ทำหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางการรับ-ส่งข้อมูลและเนื้อหาของ Packet ในระดับ Application โดยสามารถกรองข้อมูลที่ไม่ปลอดภัย และสามารถปิดกั้นการโจมตีที่มองไม่เห็นได้ บางครั้งยังสามารถทำหน้าที่แทน Proxy Service Firewall ซึ่งเป็นระบบ Firewall แบบดั้งเดิม ได้อีกด้วย
- Next-Generation Firewall (NGFW)
Next-Generation Firewall คือ ประเภทของ Firewall ที่รวบรวมความสามารถของ Firewall ประเภทอื่น ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อยกระดับการรักษาความปลอดภัย สามารถตรวจสอบได้ทั้งข้อมูลเชิงลึกของ Packet, เส้นทางเครือข่ายที่ใช้รับ-ส่งข้อมูล และยังสามารถตรวจจับไวรัสและมัลแวร์แปลกปลอมก่อนที่จะเข้ามาถึงระบบเครือข่ายขององค์กรได้อีกด้วย
Konica Minolta ผู้ให้บริการรับติดตั้งระบบ Firewall ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อช่วยปกป้องข้อมูลที่สำคัญขององค์กร เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการเลือกประเภทของ Firewall ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ระบบเครือข่ายของคุณทำงานได้อย่างแข็งแกร่ง และเพิ่มความปลอดภัยในองค์กรได้มากขึ้น
ปรึกษาเราได้เลย โทร. 02-029-7000
แหล่งที่มา: