ระบบ ERP คือซอฟต์แวร์บริหารจัดการที่เข้ามาช่วยให้การบริหารภายในองค์กรเป็นไปได้อย่างสะดวกและราบรื่น พร้อมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย ให้งานสามารถดำเนินไปได้อย่างไม่สะดุด และยังเป็นตัวช่วยสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด
ซึ่งนอกจากข้อดีที่โดดเด่นเหล่านี้ บทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับ ‘ประเภทของ ERP System’ มาดูกันว่าระบบ ERP มีอะไรบ้าง และแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร เพื่อให้คุณเลือกใช้ได้ตอบโจทย์กับธุรกิจมากที่สุด
4 ประเภทของ ERP System
1. ERP in A Box
ERP in A Box คือชื่อเรียกของระบบ ERP ที่โดดเด่นในเรื่องของความสะดวก ทั้งติดตั้งง่าย และมาพร้อมระบบการทำงานที่ไม่ซับซ้อน โดยจะมาในรูปแบบของซอฟต์แวร์ที่ใช้เวลาไม่นานในการติดตั้ง และหลังจากติดตั้งเสร็จสิ้น ก็สามารถเริ่มใช้งานได้เลยทันที ทั้งยังมีฟีเจอร์หลัก ๆ ที่รองรับการใช้งานในองค์กรได้ครบครัน แต่ ERP in A Box จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มฟีเจอร์การทำงานได้ อย่างไรก็ตาม ระบบ ERP ประเภทนี้ถือว่าตอบโจทย์องค์กรขนาดเล็กที่อยากลองใช้งาน ERP และต้องการที่จะประหยัดค่าใช้จ่าย
2. Large Scale/Complex ERPs
Large Scale หรือ Complex ERPs คือระบบ ERP ที่องค์กรจะต้องมีการวาง Framework ที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถนำไปสร้างเป็นระบบการทำงานที่ตอบโจทย์ ซึ่งแน่นอนว่าในระหว่างการพัฒนาจะต้องมีการปรึกษาพูดคุยกันอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ระบบที่สามารถรองรับการทำงานในองค์กรได้ในทุกมิติ
3. Intermediate/Flexible ERPs
อีกหนึ่งประเภทของ ERP System ที่จัดว่าอยู่ตรงกลางระหว่าง ERP in A Box และ Large Scale ERP ก็คือ Intermediate หรือ Flexible ERPs ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่ความยืดหยุ่น ใช้งานง่าย สามารถปรับให้รองรับความต้องการในองค์กรได้ ในขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับราคาที่ย่อมเยา เหมาะกับองค์กรตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง
4. Industry-Specific ERPs
มาถึงประเภทของ ERP System ประเภทสุดท้าย นั่นก็คือ Industry-Specific ERPs ซึ่งเป็นระบบ ERP ที่ออกแบบขึ้นเพื่อใช้งานในแต่ละองค์กรโดยเฉพาะ ข้อดีก็คือ ระบบประเภทนี้จะมีหน้าตาที่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกคุ้นเคย และสามารถเข้าใจระบบการทำงานได้ทันที เพราะถูกออกแบบให้มีความคล้ายคลึงกับซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีที่องค์กรใช้กันอยู่แล้ว
ฟีเจอร์พื้นฐานของระบบ ERP ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กร
หลังจากที่เราได้รู้จักกับประเภทของ ERP System กันไปแล้ว เรามาดูกันว่า ฟีเจอร์พื้นฐานของระบบ ERP มีอะไรบ้าง พร้อมตัวอย่างการนำมาปรับใช้กับฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
1. งานด้านบัญชี
ฟีเจอร์ด้านบัญชี ถือว่าเป็นหนึ่งในฟีเจอร์พื้นฐานของระบบ ERP ทุกประเภท ซึ่งหลายองค์กรสามารถใช้งานระบบ ERP ในฐานะระบบบัญชีหลักได้เลย เพราะระบบ ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถจัดการงานบัญชีต่าง ๆ ได้อย่างครบวงจร พร้อมช่วยให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้อย่างครอบคลุม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการเงินในองค์กร
ตัวอย่างการใช้งานระบบ ERP สำหรับฝ่ายบัญชี:
- ออกใบเสนอราคา/ใบแจ้งหนี้
- บันทึกข้อมูลบัญชี
- จัดการข้อมูลภาษี
- จัดการบัญชีลูกหนี้และเจ้าหนี้
2. งาน E-Commerce
ในยุคที่ทุกธุรกิจต่างก็ต้องหันมาขยับขยายไปสู่ช่องทาง Online ด้วยการขายแบบ E-Commerce รู้หรือไม่ว่า ระบบ ERP ก็สามารถใช้งานร่วมกับการขายสินค้าบนเว็บไซต์หรือ E-Commerce ได้เช่นเดียวกัน! ด้วยคุณสมบัติของ ERP ที่จะช่วยบริหารจัดการทั้งข้อมูลลูกค้าและสต็อกสินค้า พร้อมช่วยลดภาระการทำงานที่ซ้ำซ้อน ให้ธุรกิจลุยช่องทาง E-Commerce ได้อย่างมั่นคง
ตัวอย่างการใช้งานระบบ ERP สำหรับ E-Commerce:
- จัดการข้อมูลลูกค้าอย่างเป็นระบบ
- รับออร์เดอร์ได้แบบ Real-Time ช่วยประหยัดเวลาและลดปัญหาออร์เดอร์ตกหล่น
- ส่งต่อข้อมูลไปยังฝ่ายคลังสินค้า ให้สามารถดำเนินการแพ็กและจัดส่งได้ทันที
- จัดการสต็อกสินค้าได้อย่างแม่นยำ
3. งาน Project Management
อีกหนึ่งคุณสมบัติของระบบ ERP ที่หลายองค์กรอาจเคยมองข้ามไป ก็คือเรื่องของการนำไปปรับใช้ในด้าน Project Menagement โดยระบบ ERP จะช่วยให้ผู้ใช้งานที่ดูแลในส่วนนี้ สามารถมองเห็นภาพรวมของโครงการ เพื่อต่อยอดไปสู่การบริหารจัดการงานต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่นและทันเวลา
ตัวอย่างการใช้งานระบบ ERP สำหรับงาน Project Management:
- ตรวจสอบภาพรวมของโครงการ
- วิเคราะห์และจัดทำรายงาน
- ประเมินค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ
4. งาน Customer Service
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การบริการลูกค้า ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ ซึ่งระบบ ERP ก็ตอบโจทย์ในข้อนี้เป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติในการรวบรวมข้อมูลลูกค้า และข้อมูลการขายสินค้า ทำให้องค์กรสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และต่อยอดเป็นการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด
ตัวอย่างการใช้งานระบบ ERP สำหรับงาน Customer Service:
- เก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าและประวัติการสั่งซื้อ
- นำข้อมูลที่มีไปวิเคราะห์เพื่อออกแบบเป็นการให้บริการหรือแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ
5. งาน HR
ต้องบอกว่างาน HR หรืองานบริหารทรัพยากรบุคคลนั้นเป็นงานที่ไม่เคยง่าย เพราะไม่ใช่แค่การค้นหาบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่ง แต่ยังต้องดูแลในด้านสวัสดิการ เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญ รวมถึงต้องจัดอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากร ซึ่งงานเหล่านี้ ระบบ ERP ที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยเปลี่ยนความยุ่งยากและซับซ้อนให้กลายเป็นเรื่องง่าย พร้อมช่วยลดภาระการทำงานให้ฝ่าย HR ได้มากขึ้น
ตัวอย่างการใช้งานระบบ ERP สำหรับฝ่าย HR :
- เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน
- บันทึกสถิติวันลา
- สรุปเงินเดือน
- บันทึกข้อมูล Performance ของพนักงาน
6. งาน Operation
ฝ่าย Operation หรือ ฝ่ายปฏิบัติงาน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งฝ่ายงานที่มีบทบาทสำคัญในองค์กร เพราะหน้าที่หลักก็คือการบริหารจัดการงานผลิตให้สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์กับเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ โดยระบบ ERP จะช่วยให้พนักงานในฝ่าย Operation สามารถติดตามการผลิตสินค้าได้ตั้งแต่ต้นจนจบ หากเกิดปัญหาใด ๆ ระหว่างกระบวนการ ก็สามารถเข้าแก้ไขได้ทันท่วงที ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างผลกำไรให้กับองค์กรได้มากขึ้น
ตัวอย่างการใช้งานระบบ ERP สำหรับฝ่าย Operation:
- บริหารจัดการคลังสินค้า
- ตรวจสอบคำสั่งซื้อ
- บริหารจัดการภาพรวมของการผลิต
- ตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน
7. งานขาย
หากจะบอกว่างานขาย คือ ‘จุดเริ่มต้น’ ของการทำธุรกิจก็ไม่ผิดนัก เพราะเมื่อขายสินค้าได้ บริษัทก็จะมีกำไร และสามารถนำกำไรที่ได้ไปพัฒนาส่วนอื่น ๆ ได้อีกมาก ซึ่งระบบ ERP เองก็สามารถตอบรับความต้องการของฝ่ายขายได้เป็นอย่างดี ด้วยฟีเจอร์ที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าได้อย่างครบครัน พร้อมช่วยให้การเสนอขายสินค้าเป็นเรื่องง่าย ตลอดจนสามารถส่งมอบสินค้าไปถึงมือลูกค้าได้ทันเวลา
ตัวอย่างการใช้งานระบบ ERP สำหรับฝ่ายขาย:
- เก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้า
- ออกใบเสนอราคา
- ส่งคำสั่งซื้อไปยังฝ่ายผลิต
ไม่ว่าธุรกิจคุณจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ Konica Minolta ก็พร้อมให้คำปรึกษาในการรับวางระบบ ERP ตั้งแต่การเลือกระบบที่เหมาะกับองค์กร ตลอดจนการติดตั้ง และการบริการหลังการขายอย่างมืออาชีพ เพื่อช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างที่ตั้งใจ
ปรึกษาเราได้เลย โทร. 02-029-7000
แหล่งที่มา