5 เทรนด์เทคโนโลยี IT ที่จะเข้ามาปรับเปลี่ยนให้การทำงานง่ายขึ้น

ตามเทรนด์เทคโนโลยีให้ทัน - เทรนด์เทคโนโลยี 2022 - konica minolta

ในโลกปัจจุบันที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็ว เทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาทสำคัญที่ทำให้โลกก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไม่หยุดยั้ง และในฐานะผู้ทำธุรกิจ การมองหาตัวช่วยเพื่อให้การทำงานมีทั้งความสะดวก ง่าย รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ หรือการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และในอนาคตอันใกล้นี้ แนวโน้มเทรนด์ด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะมีอะไรบ้าง และเราจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อการทำงานได้อย่างไร ตามไปดูกันได้เลย

1. The Future of Connectivity

The Future of Connectivity คือหนึ่งในตัวช่วยที่จะเข้ามาทำให้การเชื่อมต่อภายในองค์กรกลายเป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีการพัฒนาโครงข่าย 5G และมีการใช้งาน IoT (Internet of Things) ภายในองค์กร ซึ่งช่วยปลดล็อกการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างง่ายดาย แม้จะอยู่ไกลกันก็ตาม และยังสามารถช่วยปรับวิธีการทำงานจากที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ให้กลายเป็นแบบ Hybrid ที่เหมาะมากกับการใช้งาน Smart Office ไปจนถึงการเชื่อมต่อด้วยซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทั้งระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ภายในออฟฟิศ อย่างเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ หรือแม้กระทั่งการใช้งานซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูลผ่านออนไลน์ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า หากองค์กรต่าง ๆ มีการวางแผนและพัฒนาการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ภายในองค์กร หรือแม้กระทั่งการนำโซลูชัน Smart Office เข้ามาใช้งาน ก็จะช่วยให้การทำธุรกิจสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างไม่มีสะดุด

2. Next-generation Computing

การนำ AI และ Machine Learning เข้ามาใช้งานภายในองค์กรมากขึ้น เพื่อช่วยจัดการบริหาร วางแผน และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลบน Cloud หรือ IT Servers โดยนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งจะช่วยปลดล็อกศักยภาพในการทำธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยลดต้นทุน และเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางธุรกิจต่าง ๆ

ด้วยศักยภาพที่เพิ่มขึ้น ทำให้การทำงานของ AI เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงในเชิงลึก การนำระบบเข้ามาใช้เป็น Cloud Solution เพื่อนำ Machine Learning เข้ามาใช้ในการเรียนรู้และหยิบข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างตรงจุด หรือจะเป็นการเก็บข้อมูลลง Server กลาง เพื่อรวบรวมข้อมูลเอาไว้ในที่เดียว เพื่อให้ AI และ Machine Learning สามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ง่าย และสะดวกมากขึ้น

3. Distributed Infrastructure

อีกหนึ่งเทรนด์เทคโนโลยีที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ การนำนวัตกรรม Cloud และ Edge computing เข้ามาใช้งาน เพราะจะช่วยให้การทำงานของระบบภายในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากหลายพื้นที่พร้อมกัน เพิ่มความเร็ว ความคล่องตัว รวมถึงประหยัดต้นทุน และควบคุมได้จากศูนย์กลาง โดยบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลกอย่างการ์ทเนอร์ ได้มีการคาดการณ์เอาไว้ว่า ภายในปี 2022 องค์กรต่าง ๆ จะมีการนำเอาเทคโนโลยีและระบบต่าง ๆ ในรูปแบบไฮบริดหรือมัลติคลาวด์เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้นประมาณ 70% เนื่องจากระบบโครงสร้างเดิมไม่สามารถขยายการทำงานได้เหมือนกับระบบคลาวด์ อีกทั้งระบบเดิมยังจำเป็นจะต้องมีการเช่าพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบคลาวด์แล้ว นอกจากจะช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายแล้ว ยังจะช่วยลดระยะเวลาในการเก็บข้อมูลให้สั้นลง เก็บข้อมูลได้มากขึ้น และสามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์ เป็นต้น

ซึ่ง Cloud Solution และโซลูชันการตรวจสอบการทำงานภายในห้อง Server นั้นถือว่าเป็นตัวช่วยที่จำเป็นต่อการทำงานยุคใหม่อย่างมาก เพราะการนำนวัตกรรม Cloud และ Edge computing เข้ามาใช้งาน จะช่วยให้องค์กรของคุณสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องใช้เวลาดึงข้อมูลจากพื้นที่จัดเก็บที่มีอย่างจำกัด และนานจนเกินไป

Cybersecurity mesh - เทรนด์เทคโนโลยี 2022 - konica minolta

4. Trust Architecture

โครงสร้างสถาปัตยกรรมไอที เป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่มีการวางแผนโครงสร้างเพื่อกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้ดีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสถาปัตยกรรมไอทีนั้นถือเป็นตัวเชื่อมต่อให้กับการทำงานภายในองค์กรสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยที่โครงสร้างสถาปัตยกรรมไอทีจะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างดี เพื่อแก้ไขและจัดการกับปัญหาการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น

โครงสร้างสถาปัตยกรรมไอทีที่ดีจำเป็นจะต้องมีการเก็บข้อมูลที่ปลอดภัย มีการตรวจสอบ เพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อมีระบบโครงสร้างที่น่าเชื่อถือ ปลอดภัย ก็จะทำให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเมื่อมีระบบรักษาความปลอดภัยในเครือข่ายที่เหมาะสม ก็จะช่วยลดต้นทุนในการตรวจสอบความเสี่ยง รวมถึงยังช่วยคุ้มครองข้อมูลตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางไม่ให้เกิดการรั่วไหล

สำหรับในประเทศไทย นอกจากโครงสร้างสถาปัตยกรรมไอทีที่จำเป็นจะต้องมีแล้ว เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกขโมย การมี PDPA Solution ที่ดีก็จะช่วยในการปกป้องข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมดกังวลเรื่องข้อมูลถูกขโมยไปใช้งานโดยไม่ได้รับความยินยอม

5. Cybersecurity Mesh

Cybersecurity Mesh คือ เทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความปลอดภัยในการใช้งาน cloud-based applications และ distributed data ด้วยการกำหนดพื้นที่การเข้าถึงและต้องยืนยันตัวตนก่อนการใช้งานเสมอ ทำให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลหรือผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่ง Cybersecurity Mesh จะเข้ามาช่วยสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับข้อมูลภายในองค์กรด้วยเทคโนโลยี ทั้งระหว่างการรับส่งข้อมูล และการจัดเก็บ ด้วยเครือข่ายรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่จะช่วยปกป้องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการควบคุมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการกำหนดขอบเขตด้านความปลอดภัย คุณจึงมั่นใจได้ว่าเอกสารต่าง ๆ จะไม่หลุดออกไปนอกองค์กรอย่างแน่นอน

นอกเหนือจากโครงสร้างสถาปัตยกรรมไอทีที่มีความปลอดภัยแล้ว ควรที่จะต้องมีโซลูชันด้านความปลอดภัยไซเบอร์เข้ามาใช้งานร่วมด้วย เพื่อช่วยให้สามารถปรับปรุงและรักษาความความปลอดภัยด้านข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในระบบปฏิบัติการ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล ไปจนถึงการป้องกันไม่ให้ข้อมูลภายในองค์กรรั่วไหลสู่ภายนอก ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจในอนาคต

หากคุณกำลังมองหาตัวช่วยด้าน IT ที่มีโซลูชันเทคโนโลยีตอบโจทย์ทุกความต้องการภายในองค์กร ที่ Konica Minolta เราคือผู้นำด้านบริการ IT แบบครบวงจร พร้อมมอบทุกความเชี่ยวชาญทั้งข้อมูลและบริการที่ครอบคลุม เพื่อให้องค์กรของคุณพร้อมก้าวสู่การเป็นองค์กรยุคใหม่ในยุคดิจิทัล ติดต่อเราได้เลยที่นี่ หรือ โทร. 02-029-7000